เรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีดังต่อไปนี้

เรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่พวกเราใช้และเห็นกันอยู่ในปัจจุบันมีบทบาทมากมายทั้งทางด้านการศึกษา ธุรกิจ หน่วยงานราชการ หรืองานทางการแพทย์ คอมพิวเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญมากในปัจจุบัน เจ้าคอมพิวเตอร์ที่ทุกคนเห็นมีรูปแบบ ที่สวยงามละมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ทันสมัยรับกับความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันรวมถึงมีความหลากหลายของการใช้งานในลักษณะการแสดงผลลัพธ์

การเก็บข้อมูลหน่วยความจำของเจ้าคอมพิวเตอร์

มีทั้งการคำนวณและก็ประมวลผล และการรับข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากและทุกหน่วยงานต้องมี เราพูดถึงรูปแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันพอสมควร ต่อมาอยากจะพูดถึงรูปแบบเจ้าคอมพิวเตอร์ในอดีตบ้างเท่าที่เราเคยเห็นมาก็จะมีช่วงสมัยเรียนประถมลักษณะก็จะมีความเทอะทะ

พกพาไม่ได้ เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ประกอบกันหลายตัวยากต่อการพกพา เอาจริงๆอย่างว่าแต่พกพาเลยนะทุกคนแค่ย้ายไปติดตั้งที่ใหม่ยังค่อนข้างลำบากเลย555

เพราะจะมีทั้ง ซีพียูที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จอแสดงผลเองก็มีขนาดใหญ่มีตูดจอที่นูนจอบานมีลักษณะคล้ายกับตู้ขนาดเล็กและมีน้ำหนักพอสมควรความเสถียรของระบบอินเตอร์เน็ต การแสดงผล การประมวลและคำนวณยังไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร รวมถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เองก็ยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก ต่อมาช่วงมัธยมเราเริ่มเห็นรูปแบบและการใช้งานของเจ้าคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนไป

พูดถึงรูปแบบก่อนเลยคือมีความบางของคอมพิวเตอร์ มีน้ำหนักที่น้อยลง จอแสดงผลการประมวลการรับรู้มีความเสถียรมากขึ้น มีฟังก์ชั่นรองรับข้อมูลการสื่อสารและการทำงานของผู้ใช้ที่ดีมากๆ มาพูดถึงความรู้สึกของเรากับเจ้าคอมพิวเตอร์กันบ้างนะ พอนึกย้อนกลับไปตอนเรียนช่วงนั้นก็มีการใช้งาน แถมยังอยู่ในช่วงวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่ถึงว่ามาไกลมาก

ตอนเรียนแน่นอนเราต้องมีการบ้าน เราเองก็ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งการ สืบค้นหาข้อมูลระหว่างเรียน การติดต่อสื่อสาร การส่งงานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ

เล่นเกมออนไลน์ ดูหนังฟังเพลง คอมพิวเตอร์สำหรับเราบางครั้งลืมมองไปเลยด้วยซ้ำว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้งานจนรู้สึกชินเห็นจนรู้สึกว่าถ้าวันไหนคอมพิวเตอร์หายไปล่ะทุกคน ต้องแย่แน่เลยจะทำงานยังไงต้องมานั่งจดบันทึกแบบเมื่อก่อนหรอวันนึงๆเราต้องพกสมุดจดบันทึกสักทีเล่มถึงจะพอ ไหนจะเรื่องของการติดต่อกับคนอื่นอีก

ซึ่งทุกวันนี้มันสะดวกและรวดเร็วมากหากต้องกลับสื่อสารกับผ่านนกพิราบคงไม่ไหวหรอก ส่งจดหมายก็ยังช้าไปเลยทุกคนเรามองว่าคอมพิวเตอร์สำคัญมากกับหลายคนในปัจจุบันรวมถึงหน่วยงานต่างๆอีกมากมายคาดว่าในอนาคตคอมพิวเตอร์ก็อาจจะพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้อีกมากแน่ๆ

อาจจะรูปแบบที่เล็กและพกพาง่ายกว่านี้ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ดีกว่านี้ ซึ่งปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทและดีมากอยู่แล้วคงเป็นเรื่องท้ายทายสำหรับคนสร้างคอมพิวเตอร์ในอนาคตแน่นอนว่าจะพัฒนาสิ่งที่ดีและอัจฉริยะอยู่แล้วอย่างคอมพิวเตอร์ไปได้ไกลแค่ไหนกันอยากให้ทุกคนรอติดตามเจ้าคอมพิวเตอร์ของพวกเรากันต่อไปด้วย

 

รู้จักกับGroup-Scope

รู้จักกับ Group Scope

รู้จักกับGroup-Scope

รู้จักกับGroup-Scope เป็นการกำหนดขอบเขตในการนำกรุ๊ปไปใช้งานในโดเมน ทรี หรือ ฟอเรสต์ ซึ่งจะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ Domain local, Global และ Universal

Domain local Groups สมาชิกในกรุ๊ปนี้ประกอบด้วยยูสเซอร์หรือกรุ๊ปอื่นที่อยู่ในโดเมนใดก็ได้ จะถูกกำหนดสิทธิ์การใช้งานเฉพาะภายในโดเมนของตน มีประโยชน์ในการกำหนดและจัดการให้เข้าถึงทรัพยากรภายในโดเมนเดียว ในกรุ๊ปนี้สามารถมีสมาชิกจาก

– แอคเคานต์จากโดเมนใดก็ได้ในฟอเรสต์

– Global Group และ Universal Group จากโดเมนใดก็ได้ในฟอเรสต์

– Domain Local Group แต่เฉพาะจากโดเมนเดียวกัน เป็น Domain Local Group กรุ๊ปหลัก

– การผสมระหว่างแอคเคานต์และกรุ๊ปในข้างต้น

Global local Groups สมาชิกในกรุ๊ปนี้ต้องมากจากโดเมนเดียวกัน จะถูกกำหนดสิทธิ์การใช้งานในโดเมนใดก็ได้ในฟอเรสต์ ในกรุ๊ปนี้สามารถมีสมาชิกจาก

– แอคเคานต์จากโดเมนเดียวกันเป็น Global Group หลัก

– Global Group จากโดเมนเดียวกันเป็น Global Group หลัก

Universal local Groups สมาชิกในกรุ๊ปนี้จะถูกกำหนดสิทธิ์การใช้งานในโดเมนใดก็ได้ที่อยู่ใน ทรี หรือ ฟอเรสต์ เดียวกัน ในกรุ๊ปนี้สามารถมีสมาชิกจาก

– แอคเคานต์จากโดเมนใดก็ได้ภายในฟอเรสต์

– Global Group จากโดเมนใดก็ได้ภายในฟอเรสต์

– Universal Group จากโดเมนใดก็ได้ภายในฟอเรสต์

คุณสมบัติด้านทราฟฟิกที่ต้องคำนึงถึง

Domain local : เรพลิเคตชื่อสมาชิกเฉพาะภายในโดเมนของตัวเองเท่านั้น ทำให้มีเน็ตเวิร์กทราฟฟิกไม่มากนัก

Global : ต้องการจัดเก็บยูสเซอร์แอคเคานต์และคอมพิวเตอร์แอคเคานต์ทุกวัน เพราะจะไม่มีการเรพลิเคตข้อมูลออกนอกโดเมนของตน เราสามารถเปลี่ยนแอคเคานต์ในกรุ๊ปที่มี Global Group ได้บ่อยๆ โดยไม่สร้างทราฟฟิกในการเรพลิเคตข้อมูลไปยัง GC Server

Universal : เรพลิเคตรายชื่อสมาชิกทั้งหมดไปยัง GC Server (Global Catalog) ทุกเครื่องที่อยู่ในฟอเรสต์ ถ้ามีการแก้ไขแอตทริบิวต์ยูสเซอร์เพียง 1 คน จะทำให้มีการเรพลิเคตรายชื่อสมาชิกทุกคนใน Universal ไปยัง GC Server ทุกเครื่องที่อยู่ในฟอเรสต์ จะเห็นว่าเป็นการสร้างทราฟฟิกบนระบบเน็ตเวิร์กอย่างมาก

ดังนั้นไม่ควรเปลี่ยนสมาชิกใน Universal Group บ่อยๆ

ติดตั้งแบบServer-with-a-GUI

Server  with a GUI

เป็นการติดตั้งคุณสมบัติในการทำงานแบบสมบูรณ์ ที่มาพร้อมกับส่วนติดต่อผู้ใช้งานและเครื่องมือในการกำหนดค่าต่างๆ เป็นกราฟฟิก ทำงานได้ง่ายและสะดวก แต่ปลอดภัยน้อยกว่าแบบ Server Core เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา

ติดตั้งแบบServer-with-a-GUI

การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 สามารถติดตั้งบนเครื่องเก่าที่เคยติดตั้ง Windows Server  รุ่นก่อนหน้านี้ได้ หรือติดตั้งลงบนเครื่องเปล่าที่ยังไม่ได้ลง Windows Server ใดๆ ไว้เลยก็ได้ ซึ่งขอแบ่งประเภทการติดตั้งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้

ติดตั้งแบบลงใหม่หมด (Clean install) วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องเปล่าที่ยังไม่เคยติดตั้ง Windows Server ใดๆ มาก่อน หรือต้องล้าง Windows Server รุ่นเดิมที่ไม่สามารถอัพเกรดได้ออกแล้วติดตั้งให้กลายเป็น Windows Server 2012 R2 เพียงอย่างเดียว

ติดตั้งแบบอัพเกรด (Upgrade) อัพเกรดจากเครื่องที่ใช้งาน Windows Server รุ่นเก่า เช่น Windows Server 2008/2008 R2/2012 โดย Windows Server แต่ละรุ่นจะสามารถอัพเกรดเป็น Windows Server 2012 R2 รุ่นต่างๆ กัน

ติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ลงเครื่องใหม่

ในส่วนนี้เป็นการติดตั้งแบบ Clean Install ซึ่งเป็นการติดตั้งบนเครื่องใหม่ หรือหากเป็นเครื่องที่มีการติดตั้ง Windows Server เดิมอยู่แล้วจำเป็นต้องล้างเครื่องใหม่ การติดตั้งแบบนี้จะเริ่มต้นทุกอย่างใหม่หมด ทำให้ Windows Server ทำงานลื่นไหล เพราะไม่มีไฟล์ขยะใดๆ 

ติดตั้ง Windows Server 2012 R2 แบบอัพเกรด

เป็นการใช้ฮาร์ดแวร์และคุณสมบัติการทำงานหลักบนเซิร์ฟเวอร์ (Roles) ที่ได้กำหนดไว้ใน Windows Server รุ่นเก่า โดยจะย้ายไฟล์ระบบ การกำหนดค่า ไดรเวอร์และข้อมูลต่างๆ นำไปใช้งายอยู่ใน Windows Server 2012 R2 รุ่นใหม่ โดยที่ไม่ต้องล้างเครื่องแล้วมากำหมดค่าใหม่

ติดตั้งแบบ Server Core

การติดตั้งและใช้งาน Windows Server ในรูปแบบนี้จะมีความปลอดภัยต่อระบบสูง แต่การกำหนดค่าให้ระบบจะทำผ่าน Command Line ซึ่งเหมาะกับผู้ดูแลระบบที่มีประสบการณ์ ส่วนการติดตั้งนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีการลงเครื่องใหม่และวิธีการอัพเกรด

ติดตั้งแบบ Server Core ด้วยวิธีการลงเครื่องใหม่

เป็นการติดตั้งในเครื่องที่ยังไม่มี Windows Server หรือล้างฮาร์ดดิสก์ลง Windows Server ใหม่

ติดตั้งแบบ Server Core ด้วยวิธีการอัพเกรด

เนื้อหาในหัวข้อ ติดตั้งแบบServer-with-a-GUI ด้วยวิธีการอัพเกรด ได้กล่าวถึงรุ่นต่างๆ ของ Windows Server ที่รองรับการอัพเกรด ซึ่งหาก Windows Server ในเครื่องของเราเป็นแบบ Server Core ให้ดูรุ่นที่สามารถอัพเกรดเป็น 2012 R2 ได้ ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งแบบอัพเกรดให้ทำเหมือนกับการติดตั้งแบบลงเครื่องใหม่ โดยต่างกันแค่ให้เลือกเป็นแบบอัพเกรด

สิ่งที่จำเป็นต้องแบ็คอัพมีอะไรบ้าง

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องแบ็คอัพมีอะไรบ้าง ?

สิ่งที่จำเป็นต้องแบ็คอัพมีอะไรบ้าง สำหรับข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องแบ็คอัพสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย

1. การแบ็คอัพไฟล์ระบบ (System Backup)

ซึ่งไฟล์ระบบประกอบไปด้วยโฟลเดอร์ Boot, System Volume Information, ไฟล์ bootmgr และBOOTSECT.BAK ที่เรียกว่า Boot Manager and Boot Configuration Data นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ BitLocker เพื่อใช้เข้ารหัสข้อมูล
โดยไฟล์ระบบเหล่านี้จะถูกเก็บไว้บนพาร์ทิชั่น System Reservedและเป็นพาร์ทิชั่นแรกในการบูตคอมพิวเตอร์สำหรับพาร์ทิชั่นนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อติดตั้งวินโดวส์ 7 และ 8+ และพาร์ทิชั่นนี้มีสถานะซ่อนเอาไว้ (Hidden)

2. การแบ็คอัพไฟล์วินโดวส์ (Windows Backup)

โดยปกติแล้วไฟล์วินโดวส์จะถูกติดตั้งไว้บนพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ C หรือเรียกว่าWindows System Partition เพราะหากไฟล์วินโดวส์หรือพาร์ทิชั่นนี้เกิดความเสียหาย คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้

3. การแบ็คอัพไฟล์ข้อมูล (Data Backup)

โดยส่วนมากแล้วไฟล์ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ Dหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือพาร์ทิชั่นที่ไม่ได้ติดตั้งไฟล์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์(Windows System Partition) และไฟล์ระบบ (System Reserved Partition)
นั้นเอง ซึ่งไฟล์ข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ไฟล์รูปภาพ, เอกสาร, เพลง, วิดีโอและอื่นๆ เป็นต้น

สิ่งที่จำเป็นต้องแบ็คอัพมีอะไรบ้าง รูปแบบการแบ็คอัพ และกู้คืนข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

คุณทราบแล้วว่าข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันโดยคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งวินโดวส์ XP และ Vistaไฟล์ระบบและวินโดวส์จะอยู่ในพาร์ทิชั่นเดียวกัน ส่วนคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งวินโดวส์ 7และ 8+ ไฟล์ระบบและวินโดวส์จะถูกแยกไว้คนละพาร์ทิชั่น

โดยพื้นที่เก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งออกเป็นห้องๆ ที่เรียกว่า พาร์ทิชั่น(Partition) หรือไดรฟ์ (Drive) ส่วนการแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์จะเริ่มต้นตั้งแต่ไดรฟ์C จนถึง Z เรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ
แต่ส่วนมากการแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์จะแบ่งให้เหลือเพียง 2 ไดรฟ์ คือ ไดรฟ์ Cและ D โดยไดรฟ์ C จะเป็นไดรฟ์สำหรับติดตั้งวินโดวส์ และลงโปรแกรม ส่งไดรฟ์ D

ก็จะเป็นไดรฟ์สำหรับเก็บไฟล์ข้อมูล เพราะการแยกเก็บข้อมูลออกเป็นส่วนๆก็จะช่วยให้การแบ็คอัพข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันการแบ็คอัพวินโดวส์ = การแบ็คอัพพาร์ทิชั่น หรือ ไดรฟ์ C และ System Reserved ส่วนการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูล = การแบ็คอัพพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ D